วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ส้มตำ

อาหารพื้นบ้านธรรมดาแต่เสน่ห์เหลือล้น


คนไทยและชาวต่างชาติต้องยกนิ้วกับรสชาติต่างยกนิ้วให้กับรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ และถูกปากถูกใจเป็นยิ่งนัก
ส้มตำเป็นอาหารยอดนิยมที่หากินได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย เรียก ได้ว่านอกจากผัดไทยกับต้มยำกุ้งแล้ว ส้มตำก็เป็นอาหารอีกเมนูหนึ่งซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่เชิดหน้าชูตาของคนไทย ที่ไม่ว่าใครหน้าไหนก็ต้องอยากลิ้มชิมรสความอร่อยกันทุกคน
นอกจากนั้นส้มตำยังเป็นอาหารที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับสาวๆ ที่กำลังลดน้ำหนักอยู่ เพราะส่วนประกอบของส้มตำจะเข้าไปอยูในใจของคนที่รักสุขภาพอย่างแม้จริง
ขั้นตอนการทำส้มตำนั้นก็ไม่ได้ยุ้งยากอย่างที่ใครหลายๆ คนคิด ร้านหน้าปากซอยบ้านเราตำได้แซบถึงใจแค่ไหน เชื่อไหมว่าเราก็ทำได้แซบไม่แพ้กันเพียงแค่คุณเตรียมอุปกรณ์การทำให้ครบ
ที่มาของส้มตำ
ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีการนำมะละกอดิบมาปรุงเป็นส้มตำเป็นครั้งแรกเมื่อไหร่ แต่หารเราพิจารณาถึงที่มาของส่วนประกอบต่างๆ ของส้มตำ อาได้ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการสันนิษฐานถึงที่มาของส้มตำได้

มะละกอ
มะละกอเป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกินไม่ได้
ประโยชน์
เมื่อพูดถึง "มะละกอ" ผลไม้รูปทรงยาวรี "108 เคล็ดกิน" ก็มีอันต้องนึกไปถึงส้มตำก่อนทุกที คงเป็นเพราะเรามักจะได้เห็นมะละกอในรูปแบบของส้มตำจานเด็ดอยู่เสมอๆ แต่นอกจากส้มตำแล้ว มะละกอก็ยังเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ทางยาอีกมากมาย เช่น ใบมะละกอสดนำมาย่างไฟและนำมาประคบช่วยแก้อาการปวดบวมได้ ใบใช้ต้มกินเพื่อขับปัสสาวะ เมล็ดต้มกินเพื่อขับพยาธิ ขับประจำเดือน ยางมะละกอแก่พิษตะขาบกัดแมลงสัตว์กัดต่อย รวมไปถึงช่วยหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย
แต่สิ่งที่เรามักใช้ประโยชน์กับมะละกอมากที่สุดก็คงจะเป็นผลมะละกอ ที่กินได้ทั้งสุกและดิบ ผลดิบก็สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง นอกจากส้มตำแล้วก็ยังนำไปต้มหรือนึ่งกินกับน้ำพริกชนิดต่างๆ จะนำไปผัดกับไข่ หรือจะแกงส้มมะละกอก็อร่อยไม่น้อย
ส่วนผลสุกนั้นต้องถือว่าเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพได้เลยทีเดียว เพราะในผลสุกนั้นอุดมไปด้วยวิตามินเอ บี 1 บี 2 แคลเซียม และที่สำคัญคือ สารเบต้าแคโรทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงและทำให้ผิวพรรณดียิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยชะลอความแก่ และริ้วรอยก่อนวัยอันควร แถมยังช่วยบำรุงอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย แก้กระหายน้ำ บำรุงโลหิต บำรุงระบบประสาท บำรุงสายตา และที่สำคัญ มะละกอสุกนั้นช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี แก้ท้องผูก ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ด้วย

 มะละกอเป็นไม้ผลที่คนทั่วไปนิยมรับประทาน ผลดิบนำมาปรุงอาหาร ผลสุกรับประทานสด น้ำมีรสชาติหวานหอมมีวิตามินเอและแคลเซียมสูง นอกจากจะบริโภคภายในประเทศแล้วยังสามารถส่งไปจำหน่ายตลาดต่างประเทศในปี 2539 ส่งออกปริมาณ 5 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.2 ล้านบาท มะละกอแปรรูป 2,450 ตัน มูลค่า 51.8 ล้านบาท
ชื่ออื่น
มะก๊วยเทศ (เหนือ) มะกล้วยเต็ด (พายัพ) มะหุ่ง (ลานช้าง) หมักหุ่ง (เลย, นครพนม) สะกุยเส่ (แม่ฮ่องสอน) กล้วยลา (ยะลา) แตงต้น (สตูล) มะเต๊ะ (ปัตตานี) ลอกอ (มลายู)
การใช้ประโยชน์
• ใช้เป็นอาหาร ผลดิบ นึ่งหรือต้มรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ผัดกับไข่หรือหมู ทำส้มตำ แกงส้ม ยอดอ่อนดอง รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก ผลสุก รับประทานเป็นผลไม้
• คุณค่าทางโภชนาการ ผลมะละกอดิบมียาง มีสารเพคติน แคลเซียม วิตามินซี และอื่นๆ ผลมะละกอสุก มีวิตามินเอสูง วิตามินซี สารเพคติน เหล็ก แคลเซียม และมีสาร carotenoid เป็นสารที่ทำให้เนื้อมะละกอสุกมีสีส้ม
• ใช้เป็นยา ต้นมะละกอ ขับประจำเดือน ลดไข้ ดอก ขับปัสสาวะ ราก แก้กลากเกลื้อน ยาง ช่วยกัดแผล รักษาตาปลาและหูด ฆ่าพยาธิ

คุณค่าทางโภชนาการ
                     ส้มตำ ลาวใส่มะละกอ 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 205 กิโลแคลอรี่
                     ประกอบด้วยน้ำ 417.77 กรัม
                     โปรตีน 17 กรัม
                     ไขมัน 2.856 กรัม
                     คาร์โบไฮเดรต 29 กรัม
                     กาก 5.75 กรัม ใยอาหาร 2.67 กรัม
                     แคลเซียม 163.4 มิลลิกรัม
                     ฟอสฟอรัส 190.36 มิลลิกรัม
                     เหล็ก 24.27 มิลลิกรัม
                     เบต้า-แคโรทีน 473.9 ไมโครกรัม
                     วิตามินเอ 12243 IU
                     วิตามินบีหนึ่ง 0.552 มิลลิกรัม
                     วิตามินบีสอง 0.5 มิลลิกรัม
                     ไนอาซิน 5.545 มิลลิกรัม
                     วิตามินซี 162 มิลลิกรัม



ประโยชน์ของส้มตำ
 มะละกอกินเป็นผักก็ได้ ผลไม้ก็ดี มะละกอดิบและมะละกอห่าม จะมีรสชาติจืด เป็นผักรับรสเครื่องปรุง ที่ผสมในเนื้อมะละกอได้ง่าย เช่น แกงส้มที่มีรสเข้มข้น ส้มตำ อีกทั้งนำไปแกะสลักเสลา ได้อย่างดงาม รวมไปถึงการนำไปถนอมอาหาร เช่น เชื่อม แช่อิ่ม ตากแห้ง เก็บไว้ได้นานวัน ส่วนมะละกอสุกนั้น ยังเป็นผลไม้ที่อร่อย ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง มีวิตามินเอสูง (2,000 - 3,000 หน่วยสากลต่อมะละกอ 100 กรัม)
คุณค่าทางยา
• ราก นำมาต้มแก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย ช่วยขับปัสสาวะ
• ใบสด ย่างไฟแล้วบดนำไปประกอบบริเวณที่ปวด และแก้ปวดไขข้อ
• เมล็ด ช่วยดับกระหาย และ
มีฤทธิ์ช่วยขับพยาธิ
• น้ำ ดอกมะละกอ ต้มช่วยขับประจำเดือนสตรี
• ยาง ช่วยสลายโปรตีน ช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ
• ในเนื้อมะละกอมีธาตุเหล็กบำรุงเลือด มีแคลเซียมบำรุงกระดูก มีวิตามินเอบำรุงสายตา วิตามินบีบำรุงประสาท วิตามินซีรักษาและป้องกันโรคลักปิดลักเปิด มีเอนไซม์ช่วยสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

 
ส้มตำ ไร้สารพิษ
        คนไทยแทบทุกคนชอบกิน "ส้มตำ" กันเกือบทุกวัน พยาบาลเวรดึกเป็นกลุ่มที่ชอบกินส้มตำมาก ทุกวันเวลาราวๆ ตี 2 พยาบาลมักจับกลุ่มกินส้มตำแก้ง่วงแก้หิวและสนทนาเรื่องคนไข้กับการรักษาของหมอ เป็นกับแกล้ม ทำให้มีแรงดูแลคนเจ็บป่วยได้ตลอดคืน
        ส้มตำเป็นอาหารที่อยู่ในวิถีชีวิตตั้งแต่ระดับครัวเรือนจนถึงในวัง และต่างประเทศ แต่องค์ความรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการการก่อกำเนิดส้มตำยังมีหลักฐานไม่มากพอ
        อาจารย์นฤมล ปัญญาวชิโรภาส จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ได้ทำการศึกษาเรื่อง ส้มตำ พบว่าแต่เดิมในสมัยรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสชนบทมีชาวบ้านทำส้มตำมาถวาย เมื่อ 100 กว่าปีก่อน ต่อมากลายเป็นส้มตำชาววังและขยายสู่การบริโภคอย่างทั่วถึง
        คำว่า ส้มตำ นำมาจากองค์ประกอบของรสชาติที่เปรี้ยวจากมะนาวหรือมะขาม ผสมกับมะละกอ พริก มะเขือเทศ ปลาร้า ใบกระเทียม มะกอก ปูแสม ปูนา ฯลฯ เป็นลักษณะอาหารบูรณาการรสชาติเอร็ดอร่อย
        พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า ส้มตำ หมายถึง ของกินชนิดหนึ่ง เอาผลไม้มีมะละกอ เป็นต้น มาตำผสมกับเครื่องปรุงมีรสเปรี้ยว บางท้องถิ่นเรียก ตำส้ม ความคิดทั่วไป ก็คือมะละกอผสมกับเครื่องปรุงอื่นๆ ได้แก่ พริก มะนาว ปลาร้า มะเขือเทศ ปู ตำในครกเป็นของคาวกินกับข้าวเหนียวหรือขนมจีน มีผักสดส้มตำมีคุณค่าทางโภชนาการ ในส้มตำมะละกอหนึ่งจานประมาณ 100 กรัม จะให้พลังงาน 23 กิโลแคลอรี โปรตีน 1 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม ใยอาหาร 2.72 กรัม
        ทั้งยังได้วิตามินจากส่วนประกอบและผักสดที่รับประทานกับส้มตำ อาทิ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง ไนอาซิน และวิตามินซี
ประโยชน์ของส้มตำ
        นอกจากคุณค่าทางโภชนาการแล้วส้มตำยังมีสรรพคุณทางยา คุณค่าจากพืชสมุนไพรที่เป็นองค์ประกอบในส้มตำอีกมากมาย
        อาทิ มะละกอ เป็นยานำบำรุงน้ำนม ขับพยาธิ แก้บิด แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยย่อยอาหาร ขับน้ำดี น้ำเหลือง
                มะเขือเทศ รสเปรี้ยว เป็นผักที่ใช้แต่งสีและกลิ่นอาหาร ช่วยระบาย บำรุงผิว
                มะกอกรสเปรี้ยว ฝาด หวาน แก้โรคธาตุพิการเพราะน้ำดีไม่ปกติแก้บิด แก้โรค
                               เลือดออกตามไรฟัน ผลสุกทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ
               พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อนช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย
               กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรค
                               ผิวหนัง น้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย
                               และไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด
               มะนาว เปลือกผลรสขม ช่วยขับลมน้ำในลูกรสเปรี้ยวแก้เสมหะ แก้ไอ แก้เลือด
                              ออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต
               ผักแกล้มต่างๆ ได้แก่ ถั่วฝักยาว รสมันหวาน ช่วยกระตุ้นการทำงานของกะ
                              เพาะลำไส้ บำรุงธาตุดิน
               กะหล่ำปลีรสจืดเย็น กระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้ บำรุงธาตุไฟ
               ผักบุ้ง รสจืดเย็น ต้มกินไข้เป็นยาระบายทำให้อาเจียน เนื่องจากพิษของฝิ่นและ
                             สารหนู
               กระถิน รสมัน แก้ท้องร่วง สมานแผล ห้ามเลือด ถ่ายพยาธิ
               มะยม ใบต้มกิน เป็นยาแก้ไข้ ช่วยดับพิษไข้ บำรุงประสาท ขับเสมหะ บำรุง
                            อาหาร แก้พิษอีสุกอีใส โรคหัดเลือด